ความสุขมวลรวมประชาชาติ

 “Gross National Happiness is more important than Gross National Product” 

  “ความสุขมวลรวมประชาชาติ สำคัญกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ”

(Jigme Singye Wangchuck , King of Bhutan, 1972)

คำตรัสของกษัตริย์จิ๊กมี่  แห่งประเทศเล็กๆ อย่างประเทศภูฏาน ที่กล่าวในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2515 และกลายเป็นหลักนโยบายระยะยาวที่พระองค์และคณะรัฐมนตรี ใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโดยใช้หลักศาสนาพุทธเป็นที่ตั้ง 

ภฏานเป็นประเทศเดียวในโลก  ที่วัดความเจริญของประเทศด้วยหลักการ GNH บ่งบอกจุดมุ่งหมายสร้างสมดุลระหว่างความเจริญด้านวัตถุและด้านจิตใจ และในปี 2541 รัฐบาลภูฏานก็ประกาศแผนพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการบนหลักการ “Four Pillars of Happiness” (สี่เสาหลักแห่งความสุข)

1.การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Economic Development)
2.การรักษาสภาพแวดล้อม (Conservation of the Environment)
3.การส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติ (Promotion of National Culture)
4.ธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance)

แม้ตัวเลขรายได้ GDP ของภูฏาน จะเป็นอันดับต่ำของโลก แต่ความเป็นอยู่ของชาวภูฏานนั้น “พอเพียง” และสอดคล้องกับธรรมชาติ  งานทำ มีนโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว  เพราะไม่ต้องการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวแห่กันเข้าไปทำลายความบริสุทธิ์ของป่าเขาและความเงียบสงบของวัด  มีนโยบายการปลูกป่าทดแทน ทำให้ยังมีป่ากว่า 70% ของประเทศแม้จะมีการตัดถนนอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี