วัฒนธรรม

  • ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบตนอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
  • เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)
  • วันหยุดและเทศกาล
    • วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
    • วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
    • วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว

ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชาวภูฏานประพฤติปฏิบัติไม่เหมือนกับชาติใดในโลก ขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตประจำวันนั้นมีพื้นฐานมาจากวิถีชาวพุทธ แบบมหายานสายตันตระ การให้ความสำคัญของหน่วยงานดูแลวัฒนธรรมของชาติ รณรงค์ร่วมมือกับราษฎรทุกภาคส่วน ทั้งชนบทและในเมือง เพื่อรักษาจิตวิญญาณของความเป็นภูฏานไว้ดั่งที่เคยเป็นมายาวนานนับพันปี

ศาสนา ขนบประเพณี และการบูชาบรรพบุรุษประกอบกันขึ้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแบบภูฏาน ซึ่งเห็นได้เด่นชัดที่สุดในแง่ของการให้ความเคารพนับถือองค์กรศาสนา และการสวมใส่ชุดประจำชาติ (ไม่ว่าเดินทางเข้าสู่ เขตอาราม เขตซ่ง เพื่อกิจราชการ จำเป็นต้องใส่ชุดประจำชาติ) โดยรัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายหลัก ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม
ชาวภูฏาน ไม่เคยคิดละทิ้งมรดกทางจิตวิญญาน และวัฒนธรรมของตนเพื่อรับเอาค่านิยมของยุคสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ภูฏานไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติใด

ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน การแสดงความเคารพยกย่อง

ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน การเคารพยกย่องชาวภูฏาน ให้ความเคารพยกย่องเรื่องลำดับอาวุโส หรือผู้มีที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างไปกว่าชาติอื่นในเอเชีย โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธี เช่นยืนอยู่ก็ต้องค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยู่ท่านั่ง ก็นั่งขาตรงชิดติดเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่า คลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่อีกฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรกเปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด เมื่อจบประโยคต้องลงท้ายด้วยคำว่า “ลา” เพื่อแสดงความเคารพ
ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง เช่นเดียวกับการกราบพระพุทธรูป เวลาไปที่วัดควรบริจาคเงินเล็กๆ น้อยๆ ทำบุญกับทางวัดบ้าง ห้ามส่งเสียงดัง และต้องถอดรองเท้า ออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ ร่มและหมวกเป็นของต้องห้าม ทั้งในวัดและในป้อม

ชาวภูฏาน ถือว่าศรีษะเป็นของสูง และเท้าเป็นของต่ำ เหมือนคนไทย การนั่งบนพื้นให้นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ ไม่นั่งไขว่ห้าง
การต้อนรับแขกมาเยือนของชาวภูฏาน

การต้อนรับ มักจะยกน้ำชา หรือสุรา มาให้การต้อนรับ ถ้าเป็นบ้านส่วนตัว ผู้เป็นแขกควรดื่ม (หรือแค่จิบ) เครื่องดื่มที่เจ้าของบ้านยกมาให้อย่างน้อยสองถ้วย การได้รับเชิญไปทานข้าวที่บ้าน ของชาวภูฏาน อาจจะการเริ่มต้นด้วย เครื่องดื่ม ค็อกเทล ก่อน ซึ่งกว่าจะ

ทานอาหารมื้อนานเสร็จ อาจจะยืดเยื้อมากกว่าชั่วโมง ทั้งนี้จะตั้งใจกินกันอย่างอร่อย โดยไม่คุยกันเลย เมื่อกินเสร็จแขกจะไม่มีการ

คุยสัพเพเหระกันต่อเหมือน ชาวตะวันตก แต่จะลุกปุบปับ กลับบ้านเลยโดยไม่ลังเล กฏนี้ใช้กับงานเลี้ยงแบบทางการด้วย โดยที่แขกผู้มีเกียรติจะต้องเป็นผู้ให้สัญญาณว่าถึงเวลากลับแล้ว

การไปร่วมงานพิธี ของชาวภูฏาน

ธรรมเนียมที่เป็นทางการและสำคัญที่สุด อย่างหนึ่งของภูฏานคือ ทั้งหญิงและชาย จะต้องห่มผ้ากับเนะ ไปวัด ไปป้อม หรือไปร่วมงานพิธีที่เป็นทางการ

งานที่เป็นทางการที่พบบ่อยมีอยู่ 2 งาน
พิธีประสาทพรให้เจริญรุ่งเรือง หรือบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “พิธีชุกเดรล” โดยมีพระลามะเป็นผู้ประกอบพิธี
พิธีบวงสรวงบูชาท้าวมหากาฬ(เทพผู้ปกปักรักษาประเทศภูฏาน) เรียกว่า “พิธีมาชัง” ซึ่งผู้ประกอบพิธีจะเป็นฆาราวาสกหรือพระลามะก็ได้ โดยนำสุราที่มักขึ้นในท้องถิ่น (เรียกว่า ชัง) เทใส่ในถ้วยที่ใช้เนยปั้นเป็นรูปสัตว์สี่อัน ประดับไว้ตามขอบ นำไปตั้งแท่นบูชาสามขา ใช้ทัพพีตักสุราขึ้นมาชูเหนือศรีษะ แล้วท่องมนต์ ก่อนเทสุราลงพื้น แล้วตามมาด้วยการติดตั้งธงมนตรา เป็นขั้นสุดท้าย

ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้มีการซื้อขายและสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ หากฝ่าฝืนถือว่าผิดกฎหมาย ทั้งยังมีกฎหมายห้ามนำเข้าบุหรี่ (ยกเว้นนักท่องเที่ยวที่นำบุหรี่เข้ามาสูบเอง แต่ก็อนุญาตให้สูบบุหรี่ได้เฉพาะสถานที่บางแห่งเท่านั้น)

ในด้านการสื่อสาร รัฐบาลมีมาตรการควบคุมสื่อทุกชนิด เพิ่งจะอนุญาตให้ประชาชนรับชมโทรทัศน์และมีอินเตอร์เน็ตในปี ค.ศ. 1999 จากเดิมที่รับฟังข่าวสารจากโลกภายนอกได้ทางวิทยุเพียงอย่างเดียว รายการทีวีในภูฏานควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งมีช่องรัฐบาลช่องเดียว ทั้งยังไม่อนุญาตให้ชาวบ้านมีจานรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากต่างประเทศได้ แต่ปัจจุบัน นโยบายนี้ผ่อนคลายลง โรงแรมในเมืองใหญ่ของภูฏานมีโทรทัศน์ที่สามารถรับชมข่าวต่างประเทศได้

ในด้านการศึกษา รัฐบาลภูฏานมีนโยบายให้การศึกษาและการรักษาพยาบาลฟรี ดังนั้น เด็กๆ ชาวภูฏานจึงได้รับการดูแลด้านการศึกษาอย่างดี โดยรัฐบาลจัดการให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษกับภาษาภูฏาน (ภาษาซองคา) ในสัดส่วน 50:50 เพราะตระหนักดีว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์และเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ชาวภูฏานสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้
ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวภูฏาน กับสถาบันกษัตริย์

กษัตริย์แห่งภูฏานกษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฏาน โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวภูฏานเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นกษัตริย์นักพัฒนาแล้ว ความเป็นกันเองของพระองค์ในการเสด็จเยี่ยมราษฏรและการเข้าถึงประชาชนของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงเป็น “กษัตริย์ของประชาชน” ของชาวภูฏาน อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะเปลี่ยนแปลงภูฏานให้เป็นสังคมสมัยใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทรงใช้หลักความสุขมวลรวมของชาติ (Gross National Happiness) แทนการวัดการพัฒนาเป็นค่าทางเศรษฐกิจ